ปกติเป็นประจำที่ผมจะเขียนสรุปชีวิตใน 1 ปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็เช่นกันครับ
1 ปีที่ผ่านมาเกิดเรื่องราวต่างๆมากมายเข้ามาในชีวิต การตัดสินใจต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนที่ตัดสินใจทำลงไป
มันคงจะมีเรื่องดีๆเกิดขึ้นบ้างพอสมควรแน่นอน แต่สำหรับปีนี้ ผมจำได้แต่เรื่องที่ไม่ happy และผมก็อยากจะบันทึกมันเก็บไว้มากกว่า
มันมีทั้งที่ ผมเจอเรื่องผิดหวัง และ ผมทำให้คนอื่นผิดหวัง
เริ่มด้วยการตัดสินใจลาออกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว สาเหตุก็คือ ตอนนั้นผมรู้สึกหมดไฟมาซักพักแล้ว ไม่รู้สึกกระตือรือร้น เหมือนแค่มีชีวิตไปเรื่อยๆ เลยมีความคิดว่าต้องออกจาก comfort zone ไปทำอะไรใหม่ๆได้แล้ว คิดแบบนี้อยู่เรื่อยๆ คิดอยู่นานและก็ตัดสินใจลงไป โดยไม่ได้บอกใครนอกจากพี่หัวหน้าที่บริษัท
December 29, 2013
December 4, 2013
ไอเดียการทำประชามติแบบต่อเนื่อง
ความคิดเล่นๆจากคนไม่ได้เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์มานะครับ ขอคำชี้แนะด้วย :)
ผมว่าเราน่าจะลองทำการลงประชามติแบบต่อเนื่องนะครับ
ในเมื่อการวัดเสียงจากประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ แล้วนักการเมืองไม่ว่าฝ่ายไหนก็อ้างเสียงประชาชนตลอดเวลา ทำไมเราไม่หาทางทำให้มันชัดเจนไปเลย ชัดเจนมากกว่ามาอ้างคะแนนเสียงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือใช้ความรู้สึกวัดเอาจากกระแสอย่างเดียว
แทนที่จะต้องรอการเลือกตั้งอย่างช้าที่สุดทุกๆ 4 ปี หรือออกมาเดินขบวนแสดงพลังซึ่งวัดผลชัดเจนอะไรไม่ได้ ได้แต่กดดันสังคม ทำไมเราไม่ทำให้สามารถไปยื่นความจำนงแสดงจุดยืนว่าจะอยากให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ได้ตลอดเวลาที่ที่ว่าการจังหวัด/อำเภอ
เหมือนการติดต่อราชการทั่วๆไปล่ะครับ เหมือนทุกคนมี current status อยู่แล้ว แล้วไปเปลี่ยน status ตัวเองที่ ที่ว่าการจังหวัด/อำเภอ ได้ตลอดเวลา ว่าอยากจะให้ยุบสภารึยัง เปลี่ยนไปเปลี่ยนกลับได้ด้วย
ในเมื่อประชาชนรู้สึกไม่มีช่องทาง พรรคฝ่ายค้านอภิปรายไปก็เท่านั้น จะรอ 4 ปีมันก็ช้าเกิน ทนไม่ได้แล้ว ประเทศคงล่มจมไปก่อนแล้วอย่างที่เค้าว่ากัน
ในรัฐธรรมนูญ น่าจะเพิ่มช่องทางให้ ประชาชนไปลงชื่อแสดง status ของตัวเองที่ที่ทำการจังหวัด/อำเภอได้ตลอดเวลา และเพื่อความแฟร์ 2 ปีแรกของรัฐบาล status นี้ อาจจะเป็นได้แค่ ตัวชี้วัด ที่บอกรัฐบาล ได้ถึงความนิยมของตัวเอง ทำไม่ดีคะแนนตกนะ
แต่พอ 2 ปีผ่านไปแล้ว ถ้าจำนวนประชาชนที่ลงชื่อ อยากให้ยุบสภา มากกว่าคะแนนเสียงที่รัฐบาลชนะมาในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว หรือ มากกว่าครึ่งนึงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แล้วคะแนนี้คงที่แบบนี้ได้ 60 วัน ก็ต้องยุบสภาทันที แล้วจัดเลือกตั้งเป็นทางการกันใหม่
การประท้วงบนถนน ก็อาจจะมีต่อไป แต่เป็นไปในลักษณะรณรงค์ให้ ประชาชนออกไปที่ทำการจังหวัดแล้วเปลี่ยน status ตัวเองซะ! มันก็จะมีเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น และทำได้ตลอดเวลา วัดผลได้ว่า รณรงค์ไป คะแนนขึ้นหรือลงเท่าไหร่้
ผมคิดว่าวิธีนี้มัน fair นะคัรบ ผมไม่คิดว่าด้วยระบบราชการปัจจุบันนี้ จะทำระบบแบบนี้ขึ้นมาใช้ไม่ได้ ยิ่งถ้ามันเป็นเรื่องสำคัญ และทำให้เกิดปัญหาการเมืองทุกวันนี้ เราก็น่าลงทุนนะครับ
ผมว่าเราน่าจะลองทำการลงประชามติแบบต่อเนื่องนะครับ
ในเมื่อการวัดเสียงจากประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ แล้วนักการเมืองไม่ว่าฝ่ายไหนก็อ้างเสียงประชาชนตลอดเวลา ทำไมเราไม่หาทางทำให้มันชัดเจนไปเลย ชัดเจนมากกว่ามาอ้างคะแนนเสียงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือใช้ความรู้สึกวัดเอาจากกระแสอย่างเดียว
แทนที่จะต้องรอการเลือกตั้งอย่างช้าที่สุดทุกๆ 4 ปี หรือออกมาเดินขบวนแสดงพลังซึ่งวัดผลชัดเจนอะไรไม่ได้ ได้แต่กดดันสังคม ทำไมเราไม่ทำให้สามารถไปยื่นความจำนงแสดงจุดยืนว่าจะอยากให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ได้ตลอดเวลาที่ที่ว่าการจังหวัด/อำเภอ
เหมือนการติดต่อราชการทั่วๆไปล่ะครับ เหมือนทุกคนมี current status อยู่แล้ว แล้วไปเปลี่ยน status ตัวเองที่ ที่ว่าการจังหวัด/อำเภอ ได้ตลอดเวลา ว่าอยากจะให้ยุบสภารึยัง เปลี่ยนไปเปลี่ยนกลับได้ด้วย
ในเมื่อประชาชนรู้สึกไม่มีช่องทาง พรรคฝ่ายค้านอภิปรายไปก็เท่านั้น จะรอ 4 ปีมันก็ช้าเกิน ทนไม่ได้แล้ว ประเทศคงล่มจมไปก่อนแล้วอย่างที่เค้าว่ากัน
ในรัฐธรรมนูญ น่าจะเพิ่มช่องทางให้ ประชาชนไปลงชื่อแสดง status ของตัวเองที่ที่ทำการจังหวัด/อำเภอได้ตลอดเวลา และเพื่อความแฟร์ 2 ปีแรกของรัฐบาล status นี้ อาจจะเป็นได้แค่ ตัวชี้วัด ที่บอกรัฐบาล ได้ถึงความนิยมของตัวเอง ทำไม่ดีคะแนนตกนะ
แต่พอ 2 ปีผ่านไปแล้ว ถ้าจำนวนประชาชนที่ลงชื่อ อยากให้ยุบสภา มากกว่าคะแนนเสียงที่รัฐบาลชนะมาในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว หรือ มากกว่าครึ่งนึงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แล้วคะแนนี้คงที่แบบนี้ได้ 60 วัน ก็ต้องยุบสภาทันที แล้วจัดเลือกตั้งเป็นทางการกันใหม่
การประท้วงบนถนน ก็อาจจะมีต่อไป แต่เป็นไปในลักษณะรณรงค์ให้ ประชาชนออกไปที่ทำการจังหวัดแล้วเปลี่ยน status ตัวเองซะ! มันก็จะมีเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น และทำได้ตลอดเวลา วัดผลได้ว่า รณรงค์ไป คะแนนขึ้นหรือลงเท่าไหร่้
ผมคิดว่าวิธีนี้มัน fair นะคัรบ ผมไม่คิดว่าด้วยระบบราชการปัจจุบันนี้ จะทำระบบแบบนี้ขึ้นมาใช้ไม่ได้ ยิ่งถ้ามันเป็นเรื่องสำคัญ และทำให้เกิดปัญหาการเมืองทุกวันนี้ เราก็น่าลงทุนนะครับ
November 23, 2013
ความพยายามกับความรัก
ผมอ่านเจอในหนังสือเล่มนึง และคิดว่าเค้าสรุปได้ดีทีเดียว
- ความพยายามที่เราทุ่มเทให้กับบางสิ่งไม่เพียงทำให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงตัวเราและวิธีที่เราตีค่าสิ่งนั้นด้วย
- ยิ่งทุ่มเทความพยายามมากเท่าไหร่ ความรักก็ยิ่งเพิ่มพูนมากเท่านั้น
- การตีค่าสิ่งที่ตัวเองทำสูงเกินจริงนั้นฝังรากลึกจนเราทึกทักเอาเองว่าคนอื่นก็คิดเหมือนกัน
- เมื่อเราทุ่มเทความพยายามให้กับบางสิ่งแต่ทำไม่สำเร็จ เราจะไม่รู้สึกผูกพันกับสิ่งนั้นมากนัก
-3-
November 2, 2013
First Meetup
หลายวันก่อนไอแก๊นพูดถึงเว็บ Meetup ให้ฟัง แล้วคืนเมื่อวานซืนก็ไปอ่านเจอในบทความซักอันอีก เลยอยากรู้อยากเห็นเข้าไปดู
Meetup เป็นเว็บชุมชน ที่มีคนอยากจัดกิจกรรมเจอคนใหม่ๆ หรือมีความสนใจร่วมกัน นัดมาเจอกันครับ ตั้ง group ตั้ง event แล้วก็ออกไปเจอกัน ลองสมัครเข้าไปดูก็ต้องตกใจว่า ในกรุงเทพฯ มี Meetup group เยอะกว่าที่คิดมาก นึกว่าจะร้าง
คนส่วนใหญ่ที่เห็น จะเป็นชา่วต่าวชาติ หลายคนพึ่งมาอยู่เมืองไทยไม่กี่เดือน อยากรู้จักคนใหม่ๆ หลายคนอยู่เมืองไทยมาหลายปีแล้ว คนไทยก็มีให้เห็นอยู่บ้าง มันดูเหมาะมากเลย ถ้าเราไปอยู่ต่างประเทศแล้วไม่ค่อยรู้จักใคร
ลองไล่ดูก็ไปเจอ Bangkok Coffee and Movie Meetup group โว้ว กิจกรรมคือนัดไปดูหนังกันทุกอาทิตย์ นัดเจอกันก่อนชั่วโมงนึงที่ True coffee นั่งคุยกัน แล้วถึงเวลาก้เดินไปดูหนังกัน ดูเสร็จคุยกันนิดหน่อยแล้วก็แยกย้าย
นัดครั้งถัดไปคือวันถัดไป(คืนวันศุกร์) ไปดู Ender's game ที่ Scala เลย เอาวะ ลองดู! ลองอะไรใหม่ๆ วู่วาม กด join ไปคืนวันนั้นเลย ฮ่าๆ
Meetup เป็นเว็บชุมชน ที่มีคนอยากจัดกิจกรรมเจอคนใหม่ๆ หรือมีความสนใจร่วมกัน นัดมาเจอกันครับ ตั้ง group ตั้ง event แล้วก็ออกไปเจอกัน ลองสมัครเข้าไปดูก็ต้องตกใจว่า ในกรุงเทพฯ มี Meetup group เยอะกว่าที่คิดมาก นึกว่าจะร้าง
คนส่วนใหญ่ที่เห็น จะเป็นชา่วต่าวชาติ หลายคนพึ่งมาอยู่เมืองไทยไม่กี่เดือน อยากรู้จักคนใหม่ๆ หลายคนอยู่เมืองไทยมาหลายปีแล้ว คนไทยก็มีให้เห็นอยู่บ้าง มันดูเหมาะมากเลย ถ้าเราไปอยู่ต่างประเทศแล้วไม่ค่อยรู้จักใคร
ลองไล่ดูก็ไปเจอ Bangkok Coffee and Movie Meetup group โว้ว กิจกรรมคือนัดไปดูหนังกันทุกอาทิตย์ นัดเจอกันก่อนชั่วโมงนึงที่ True coffee นั่งคุยกัน แล้วถึงเวลาก้เดินไปดูหนังกัน ดูเสร็จคุยกันนิดหน่อยแล้วก็แยกย้าย
นัดครั้งถัดไปคือวันถัดไป(คืนวันศุกร์) ไปดู Ender's game ที่ Scala เลย เอาวะ ลองดู! ลองอะไรใหม่ๆ วู่วาม กด join ไปคืนวันนั้นเลย ฮ่าๆ
October 27, 2013
Doraemon: Nobita's Secret Gadget Museum
เมื่อวานอยากดูหนังซักเรื่อง ผมลังเลระหว่าง โดเรมอน กับ ดราก้อนบอล สุดท้ายก็เลือกดูโดเรมอน (ถ้าโคนันยังไม่ออก ผมคงเลือกดูโคนันไปแล้ว) ออกจากโรงมา รู้สึกดีที่ได้ดู ไม่เสียดายตังค์ ไม่เสียดายเวลา
ชื่อตอนภาษาไทยคือ โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ
เท่าที่จำความได้ ผมไม่เคยดู โดเรมอนในโรงมาก่อน เคยแต่เช่าวิดิโอเทปมาดู ตอนที่ชอบที่สุดที่เคยดูน่าจะเป็น กองทัพมนุษย์เหล็ก แต่ในบ้านเคยมีวิดิโอเทป ตอน ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ อยู่ ดูไม่รู้กี่รอบ
หนังเริ่ม ความว้าวแรก คือ นีมัน โดเรมอน ภาพคมชัดระดับ HD !! โรงที่ไปดูเป็นโรงดิจิตอล ไม่เคยดูโดเรมอนจอใหญ่ และลายเส้นชัดขนาดนี้มาก่อน สีก็ชัด ลายเส้นดูทันสมัยกว่าสมัยก่อนๆที่เคยดู (แน่ล่ะ เทคโนโลยีดีขึ้น) ห้องโนบิตดูมีรายละเอียดขึ้นมากเลย ฮ่าๆ
เสียงพากย์โดเรมอน ก็ยังคนเดิมอยู่เลย คนอื่นๆก็ยังเหมือนเดิม น้าต๋อยก็ยังพากย์ไจแอนท์อยู่(ถ้าผมฟังไม่ผิดนะ) สงสัยว่า ถ้านักพากย์รุ่นนี้ล้มหายตายจากไป เค้าจะหาคนพากย์ใหม่ได้มั้ยนะ
October 20, 2013
ความรู้สึกของเป็ด
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เรื่อง programming ผมรู้สึกว่าตัวเองเป็นเป็ดมาโดยตลอด คือลองทำมาหลายอย่างพอสมควร เขียนโปรแกรมมาหลายแบบ แต่ไม่เชี่ยวชาญซักอย่าง คือมีนิสัยชอบเขียนโปรแกรมในลักษณะที่ไม่เคยเขียน ชอบลองภาษาใหม่ๆ ลอง framework ใหม่ๆ ลองทำนั่นทำนี่ เท่าที่จะมีโอกาสและความสนใจ
แต่ผมไม่เคยรู้สึกชอบอันไหนเป็นพิเศษจนขนาด stick อยู่กับมันได้นานๆ จนเชี่ยวชาญมากๆ เลยซักที
ถามว่าอยาก focus ซักอย่างมั้ย ผมอยากนะ แต่พอเห็นของใหม่มา ก็อยากลองทุกที
October 6, 2013
ย้อนเวลาด้วยอีเมล์
เมื่อวานผมนั่งจัดเรียง จัดประเภทอีเมล์ใน Gmail ใหม่
ผมพึ่งเจอว่า ผมมีอีเมล์ที่ติดดาว ไว้ 600 กว่าเมล์แหนะ เลยนั่งไล่ดูจากอดีต เพื่อจะเอาดาวบางอันออก
ใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงกว่า แต่เหมือนได้ย้อนเวลาเลยครับ เพราะเมล์ที่ผมติดดาว จะเป็นเมล์ที่สำคัญในช่วงเวลานั้นๆ
อีเมล์แรกๆ ที่ติดดาวเป็นเมล์ตั้งแต่ช่วงปี 2005 ช่วงที่เข้าปี 1 ใหม่ๆ (ก่อนหน้านั้น ใช้อีกเมล์นึง)
September 23, 2013
August 6, 2013
ความพยายามและโชคชะตา
ดูรูปนี้ แล้วนึกถึงอะไรกันครับ?
รูปนี้มักจะ ใช้เตือนใจคนที่กำลังท้อว่า "อย่าพึ่งยอมแพ้นะ ความสำเร็จมันอาจจะอยู่ตรงหน้าแล้วก็ได้"
คนที่มองรูปนี้ หลายคนอาจจะนึกเสียดายว่า คนข้างล่างไม่น่ายอมแพ้เลย คนข้างบนยังพยายามอยู่ คงจะได้เจอเพชรในที่สุด ผมก็เคยคิดแบบนั้น เพราะงั้นต้องพยายามต่อไป
แต่ลองมาคิดดูอีกทีแล้ว ตอนนี้ผมสงสารชายคนข้างล่างมากกว่า ถ้าเค้ารู้ว่าเพชรอยู่ใกล้ขนาดนั้นแล้ว เค้าคงพยายามขุดต่อจนสำเร็จแน่ๆ แต่ความจริงของโลกนี้ก็คือ ไม่มีใครรู้อนาคต เค้าไม่มีทางรู้ว่าจะขุดเจอเพชรจริงๆรึเปล่า
สิ่งที่เค้าเห็นตรงหน้าคือ หน้าดินที่ยังต้องขุดต่อไปอีก และทางแสนไกลที่เขาขุดผ่านมา
ความรู้สึกแบบนี้ โผล่เข้ามาในชีวิตเสมอ ไม่ว่าจะทำงาน ความรัก หรือแม้แต่ซื้อหุ้น เวลาเราพยายามทำอะไรซักอย่างอยู่ แล้วเริ่มรู้สึกท้อ อารมณ์ความรู้สึกเริ่มลงไปต่ำจนถึงจุดที่เราเริ่มตั้งคำถาม เริ่มต้องตัดสินใจว่า จะเอาไงดี จะพยายามต่อไปดีรึเปล่า
ผมลองพยายามเรียบเรียงจัดหมวดหมู่แบบหยาบๆ เวลาที่คนรอบตัวให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู
แบบที่พบบ่อยที่สุดและเหมือนกับรูปข้างบนนี้คือ
- พยายามต่อไป! เฮ้ย ทำให้ได้! อย่าพึ่งยอมแพ้! (ต้องใส่ ! พร้อมรอยยิ้มด้วยเวลาพูด)
- เชื่อมั่น ศรัทธา แล้วทุกอย่างมันจะดีเอง
- คนที่เค้าประสบความสำเร็จ เค้าผ่านความยากลำบากมาทั้งนั้นแหละ มันลำบาก มันยาก มันถึงคุ้มค่า
- "Nothing great ever came that easy." - anonymous
อีกหลายคน นำเสนออีกด้านนึง
- อย่าดื้อ อย่าฝืนเลย อย่าหลอกตัวเอง ถ้ามันไม่ใช่ ก็เปลี่ยนซะ ต้องกล้าที่จะล้มเหลว
- ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องใหญ่ Fail fast and forward ล้มให้เร็วลุกให้เร็วแล้วเรียนรู้ดีกว่า
- "You can't start the next chapter of your life if you keep re-reading the last one." - unknown
บางคนบอกว่า
- สิ่งที่สำคัญไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่มันคือระหว่างทางต่างหาก
- หาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขระหว่างที่ทำดีกว่า นั่นล่ะ คือสิ่งที่สำคัญ
- "Focus on the journey, not the destination. Joy is found not in finishing an activity but in doing it." - Greg Anderson
แน่นอน ทั้ง 3 แนวคิดมันผสมกันได้ แต่ละคนแบ่งสัดส่วนให้ 3 แนวคิดนี้ไม่เท่ากัน แต่คนที่เลือกใช้ถูกจังหวะ ผมว่าคนนั้นคงจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ อย่างน้อยก็คงมีความสุข
ผมเคยเป็นพวกเน้นหนักไปที่ แนวคิดแรก พยายามไปเถอะ เดี๋ยวมันจะออกมาดีเอง แต่เวลาผ่านไป ผมเริ่มคิดว่า แค่พยายามมันไม่พอที่จะประสบความสำเร็จ ผมเริ่มคิดว่ามันมีอีกส่วนด้วยคือ "โชคชะตา" และ โชคชะตาเป็นส่วนที่จะต้องมีเสมอซะด้วย ถ้าคุณไม่มีโชคเลยมีแต่ความพยายาม มันก็เท่านั้น ความพยายามทดแทนโชคชะตาไม่ได้ แม้ว่าคุณทุ่มแท่ทุกอย่าง มันก็ต้องมีโชคเล็กๆผลักให้ประสบความสำเร็จด้วย
ฟังดูเหมือนเป็นข้ออ้างของพวกที่พยายามไม่มากพอแล้วเริ่มโทษโชคชะตานะครับ ฮ่าๆ
สุดท้าย มีซักคนบอกว่า "โลกมันก็ random แบบนี้แหละ จะทำอะไร ก็ทำๆไปเถอะ อย่าคิดมาก" ฮ่าๆ
ปล. blog นี้ ใช้เวลาเขียนหลายวันมาก เขียนๆลบๆ ยิ่งเขียนยิ่งรู้สึกตัวเองเวิ่นเว้อ ยิ่งเขียนยิ่งออกมาไม่เหมือนที่ตั้งใจไว้ตอนแรก - คิดมากน่าาา
April 2, 2013
AIS The Startup Weekend 2013
อยากบันทึกประสบการณ์ที่ได้ เก็บไว้ก่อนจะลืมครับ
ในทีมมีเพื่อนผมและรุ่นพี่อีกคน(ซึ่งผมไม่รู้จักมาก่อน) เค้ามีไอเดีย มี business model กันอยู่พอสมควร สิ่งที่เค้าอยากให้ผมไปช่วยคือ ให้ไปช่วยทำ prototype สำหรับรอบถัดไป ซึ่งก็คือ วันเสาร์-อาทิตย์นั้นเลย!! กระชั้นชิดมาก
พวกเรานัดคุยกันเย็นวันถัดไป คุยทำความเข้าใจ และวางแผนว่าเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ด้วยความที่มันเป็นการแข่ง Mobile Application Startup แต่ตัวผมเองเขียน UI บน Mobile App ไม่เป็นซักนิด (เศร้าใจ) เขียนเป็นแต่ตัวภาษา Obj-C กับ Java เพราะงั้น คืนนั้นผมเลยต้องรีบศึกษา Sencha Touch 2 หลักสูตรเร่งรัด ฮ่าฮ่า
คืนวันศุกร์ นั่งงม นั่งปั้น prototype ให้ขึ้นมาได้ซักหน้าสองหน้า ไม่ได้ทำงานแบบเร่งๆ ดึกๆดื่นๆแบบนี้มานานแล้ว
เช้าวันถัดมา เป็นวันจริงวันแรก งานจัดที่ Microsoft Thailand
- งานเป็นลักษณะที่ ทั้ง 25 ทีมจะนั่งอยู่ตามโต๊ะ ในห้องใหญ่ๆ ห้องเดียวกันครับ แล้วก็นั่งทำงานไป เตรียม slide ทำนุ่นทำนี่ไป ตลอดทั้งวัน
- โดยจะมีพี่ๆ mentor ทีมีประสบการณ์และประสบความสำเร็จ มา coach ให้ในวันนี้ แล้วแต่ละทีมสามารถเชิญ mentor แต่ละท่าน มานั่งคุยด้วยได้ ปรึกษา เล่าไอเดียให้ฟัง ซึ่งมีประโยชน์มากๆๆเลยครับ ชอบตรงนี้มาก ได้มุมมอง วิธีการคิดและจุดที่เราต้องสนใจ ที่เราไม่เคยคิดถึงหลายอย่างเลย
- ในงานจัดในลักษณะค่อนข้างเป็นกันเองมาก ทางผู้จัดพยายามจะ build ให้เป็น startup community ขึ้นมาให้ได้ แต่ละทีมก็มีปรึกษา คุยๆ แลกเปลี่ยนกันอยู่พอสมควรเลยล่ะครับ
- ได้ยินว่า หลังจากมี mentor เข้าไปคุยด้วยแล้ว บางทีมถึงขั้น pivot ไอเดียกันเลย
- หลังจากรับทราบรูปแบบในการ pitch ในวันอาทิตย์ ก็พบว่ามีเวลาแค่ 12 นาที เท่านั้น รวมตอบคำถามแล้วด้วย ซึ่งดูจากเรื่องที่ต้องพูดแล้ว ในทีมผมตกลงกันว่าไม่ควรเสียเวลาทำ prototype ให้เสร็จแล้ว ทำเป็นรูปใน slide ก็พอ มานั่งระดมสมองเรื่อง slide และเนื้อหากันดีกว่า
- พี่โบ๊ท จาก Builk หนึ่งใน mentor ผมได้ยินชื่อเสียงมานาน พึ่งได้เจอตัวจริง ได้พูดให้คำแนะนำกับทุกทีมตอนจะจบวัน ซึ่งผมชอบมากๆ คือ "...การ present และผลของวันพรุ่งนี้ มันก็เป็นแค่เกมเกมนึง แต่เรื่อง business และอนาคตต่อจากนี้ มันก็เป็นอีกเรื่อง..."
- งานเลิกสี่โมง ทีมผมออกมาหาที่ทำงานต่อ กว่า slide จะเสร็จ กว่าจะซ้อม ก็พอใจกันตอน เที่ยงคืน ก็รู้สึกเหนื่อยมากแล้ว และวันรุ่งขึ้นก็ ขึ้น present เป็นทีมแรกๆด้วย ก็เลยแยกย้ายครับ
วันอาทิตย์ งานจัดที่เดิม ห้องเดิมครับ
- วันนี้ ทั้งวันจะเป็นการ pitch ของแต่ละทีม จุดที่น่าสนใจคือ เป็นการ pitch แบบเปิดห้องครับ ทุกทีมจะได้นั่งฟังทีมอื่นๆ pitch ไปพร้อมๆกับกรรมการ ที่นั่งอยู่ตรงกลาง วันนี้เค้าไม่มีโต๊ะให้ทำงานแล้ว และเค้าไม่ให้เปิด notebook ด้วย นั่งฟังกันไปตลอดทั้งวัน เหนื่อยเหมือนกันครับ
- ทีมผม ได้คิวในช่วงเช้าเลย การ pitch ก็ถือว่าไม่สะดุด แต่ออกจะใช้เวลานานกว่าที่ซ้อมกันไว้ ทำให้เหลือเวลาให้กรรมการถามน้อยไปหน่อย แต่ก็ผ่านไปได้ครับ
- pitch เสร็จก็ชิว นั่งฟังของทีมอื่นๆ ไปเรื่อย สนุกดีครับ ได้เห็น idea ของแต่ละทีม ได้เห็นวิธีการ pitch และหัวข้อที่แต่ละทีมเลือกมานำเสนอและการเรียงลำดับ ในวันแรก mentor ท่านนึงแนะนำว่า จะดีที่สุด เราจะต้อง knock กรรมการให้ได้ใน 3 สไลด์แรก
- จุดที่น่าสนใจสำหรับผมอย่างนึงคือ มันเป็นการ present ที่เป็นผุ้ใหญ่ขึ้น จริงจังมากขึ้น แตกต่างจากการ present โครงการในการแข่งขันเขียนโปรแกรมในระดับนักศึกษาที่ผมผ่านๆมา ที่มักเน้นที่ทำอะไรมา ทำงานยังไง มีประโยชน์อะไร
- หลายๆทีมตั้งเป็นบริษัทเรียบร้อยแล้ว บางทีมมีลูกค้าแล้ว launch บน app store เรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มาด้วยแค่ idea อย่างเดียว
- อีกจุดนึงที่น่าสนใจคือ ใน 25 ทีม มีทีมที่มีไอเดียใกล้เคียงกันหรือตลาดใกล้ๆกัน อยู่หลายคู่เหมือนกัน เช่นเกี่ยวกับหุ้น เก็บข้อมูล survey หรือเกี่ยวกับระบบคิวและการจ่ายตังค์ตามร้านค้า
- บางไอเดียที่เห็นในงาน ก็เป็นไอเดียเก่าแก่ครับ เห็นกันมาตั้งแต่ Samart Innovation Award สมัยก่อน ฮ่าฮ่า เช่นระบบคิวหน้าร้านอาหาร แต่ก็ยังไม่มีคนเอามาทำจริงๆจังๆ หรือทำสำเร็จให้เห็นซักที
- นอกจากเรื่องไอเดีย เรื่อง business แล้ว หลายๆทีมก็ต้องพยายามแสดงให้เห็นด้วยว่า AIS จะเข้าไปมีส่วนสนับสนุน ตัวธุรกิจของทีมได้ยังไง ตรงนี้น่าสนใจมากเหมือนกันครับ เพราะบางทีมไอเดียโอเค แนวคิดทางธุรกิจก็ดูโอเค แต่ถ้าจะเริ่มด้วยตัวเอง มันยากมากๆ หลายๆไอเดียเป็นปัญหาไก่กับไข่ แต่ถ้าได้ AIS ช่วยสนับสนุน มันจะช่วยเปิดตลาดได้มากเลยทีเดียว
January 12, 2013
ทีระพาบในปีที่ผ่านมา
ผ่านไปอีกปีครับ เป็นปกติที่ผมจะมาบันทึกนุ่นนี่เกี่ยวกับปีที่ผ่านมาในเดือนแรกของปีใหม่ แต่เมื่อกี้พยายามจะย้อนกลับไปอ่านของปีก่อนๆ ปรากฏว่าปีที่แล้ว ลืมเขียน!!! ลืมได้ไงไม่รู้ครับ อาจจะเพราะช่วงปีใหม่ปีที่แล้ว ยุ่งๆ ง่วนอยู่กับการสมัครเรียนต่อ จนลืมล่ะมั้ง
ทีระพาบในปีที่ผ่านมา ผมลองนึกย้อนกลับไปดู ผมนึกอะไรที่สำคัญๆ ไม่ออกเลยนอกจาก เรื่องสมัครเรียนต่อตอนช่วงน้ำท่วมปีก่อนนู้นจนถึงปีใหม่ปีที่แล้วครับ
ผมสมัครเรียนต่อด้าน computer science ที่อเมริกาไป ผลที่ออกมาคือ ผมโดน rejected ทั้งหมด จากทั้ง 4 แห่งที่สมัครไป เศร้ามั้ยล่ะครับ ฮ่าฮ่า
แต่ตอนที่ผมทราบผลแต่ละแห่ง ผมไม่รู้สึกเศร้าหรือแปลกใจเท่าไหร่เลยครับ เพราะนอกจากคุณสมบัติที่ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรอยู่แล้ว ก่อนจะสมัคร และในขั้นตอนของการสมัคร ผมได้คิด ทบทวน ตกตะกอน อะไรอยู่มากทีเดียวเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง แล้วยิ่งผมเป็นคนคิดมากอยู่แล้วด้วย การตัดสินใจสำคัญแบบนี้ เล่นเอา นอนไม่หลับอยู่เป็นเดือนทีเดียว (อยากเลิกคิดมาก แล้วคิดอะไรง่ายๆ ตัดสินใจอะไรง่ายๆบ้างเหมือนกัน)
โดยเฉพาะในขั้นตอนการสมัคร ที่ผมต้องเขียน Statement of Purpose หรือ Future Plan ผมเองก็ไม่อยากจะเขียนหลอกลวงตัวเอง แต่อยากจะเขียนสิ่งที่ตัวเองคิด และอยากทำจริงๆ ให้มันใกล้ความจริงที่สุด ยิ่งเขียนยิ่งอ่านเอง ยิ่งรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าตัวเองอาจจะไม่ได้อยากเรียนต่อก็ได้ หรือการเรียนด้านนี้ต่อ อาจจะไม่ได้จำเป็นก็ได้
ความคิดนี้ นำไปสู่อีกคำถามสำคัญที่วนอยู่ในหัวช่วงนั้นคือ "เราอยากเรียนต่อเพราะอะไร?" ด้านนึงก็คิดว่า เฮ้ย เราก็ชอบด้านนี้นะ เรียนต่อก็อาจจะเปิดโอกาสอะไรอีกมากมายให้ตัวเองในอนาคต อีกด้านนึงก็คิดว่า ชอบด้านนี้ก็จริง แต่เราแค่อยากเรียนต่อตามค่านิยมของสังคมรึเปล่า ใครๆก็บอกว่าไปเรียนต่อเมืองนอกดี ใครๆก็อยากไปเรียนต่อ เพื่อนๆพี่ๆหลายคนก็ไป เรากำลังจะเป็นนกที่แค่บินอพยพตามฝูงรึเปล่า แล้วมันจะดีจริงเหรอ?
เคยคุยกับเพื่อนหลายคน และรู้สึกคล้ายๆกันคือ สมัยเรียน เรารู้ว่าเรียนจบ ม.ต้น ก็จะขึ้น ม.ปลาย พอ ม.ปลายแล้วก็มหาลัย แต่พอเรียนจบแล้ว มันเหมือนไม่มีบันไดขั้นถัดไปแล้ว มันมีแต่พื้นที่โล่งๆข้างหน้า จากเดิมที่มันมีบันได้ถัดไปที่แน่นอน คราวนี้มันไม่มีแล้ว มันรู้สึกโหวงๆ การที่เราอยากเรียนต่อ เพราะอยากจะหาบันไดแบบนี้ไว้ไต่ เพื่อความสบายใจและกำจัดความรู้สึกนี้รึเปล่า
สุดท้ายผมก็ตกตะกอนระดับนึงว่า การเรียนต่อด้าน computer science อาจจะไม่ใช่ทางเลือกสำคัญที่ต้องเดินให้ได้สำหรับผมก็ได้ ยังมีทางเลือกที่เป็นไปได้ทางอื่นอีก คิดได้ในช่วงที่เตรียมทุกอย่างไปจะครบแล้ว ก็เลยคิดว่า ถ้าจะหยุดตอนนี้อาจจะ เสียดายทีหลังก็ได้ เลยเดินหน้าต่อจนจบ (การสมัครเรียนต่อมันดูดพลังอยู่เหมือนกันนะครับ)
ขอใช้ย่อหน้านี้ ขอบคุณอ.เกริก อ.มานพ และพี่ที่ทำงานที่สละเวลาเขียน Recommendation Letter ให้นะครับ ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่ช่วยผมในการสมัครนะครับ ทั้งให้คำปรึกษา ช่วยตรวจภาษาและให้ความเห็นต่างๆที่มีประโยชน์มาก
หลังจากจบภารกิจสมัครเรียนต่อ ตลอดปีที่เหลือจากนั้น ผมแทบไม่ได้ทำอะไรเลย ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยมาก ทำงาน หาอะไรอร่อยๆกิน ซื้อของเล่น ลองทำอะไรที่ไม่เคยทำบ้าง จะเรียกว่าชิล ก็ไม่ผิดครับ
สำหรับทีระพาบในปีนี้ มีอยู่อย่างเดียวที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จให้ได้ คือ ออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงครับ
ขอประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพ ฮ่าฮ่า เพราะในปีที่ผ่านมา ผมอ่อนแอมากก เป็นหวัดบ่อยขึ้น มีปัญหาสุขภาพเยอะขึ้น เลยคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ไม่ดีแน่ อยากทำอะไร ก็ทำไม่ได้หรือไม่สะดวกแน่ๆ เพราะงั้นต้องทำตรงนี้ให้ดีขึ้นมาก่อนและทำให้เป็นนิสัยให้ได้สำหรับปีต่อๆไป
ว่าแล้วตอนนี้ก็ ตีสองครึ่งแล้ว นอนดึกอีกแล้ว = ="
สวัสดีปีใหม่ครับ
January 6, 2013
From Ubuntu to Arch Linux
เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา ผมผลาญเวลาส่วนนึงไปกับการลง Arch Linux ให้ Thinkpad ที่บ้าน
จากที่ผมใช้ Ubuntu เป็น Desktop หลักที่บ้านมานานพอสมควร (เท่าที่จำได้คือเริ่มใช้จริงจังตอน 5.10) ถือเป็น Distro ตัวนึงที่ใช้แล้ว happy มาตลอด ไม่นับเรื่องจุกจิกๆที่มีเป็นธรรมดาของ Desktop Linux
แต่ตั้งแต่ ผมอัพเกรด ไปใช้ Unity (จริงๆ อั้น ไม่อัพเกรดอยู่ 2-3 รุ่น รอจนคิดว่า Unity นิ่ง ค่อยอัพ) ก็พบว่าจากที่ใช้งานดีๆ ก็กลายเป็นเจอ UI หน่วงๆ ขึ้นมาซะงั้น โดยเฉพาะ Dash และการ search เพื่อจะเปิด app มันหน่วงจนทนไม่ได้ พยายาม tuning นู่นนี่แล้วก็ไม่ดีขึ้น เลยคิดว่าเปลี่ยนดีกว่า แม้ผมชอบ concept ของ Unity หลายๆอย่างก็ตาม
สาเหตุอีกอย่างคือ ช่วง 4-5 รุ่นที่ผ่านมา เหมือน Ubuntu พยายามจะแต่งตัวอยู่ เปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่เยอะ ปรับไปปรับมา เหมือนหาตัวเองไม่เจอซักที แล้วอัพเกรด ก็มีอะไรจุกจิกๆ น่ารำคาญตลอด
เลยถือโอกาส ลองใช้ Distro อื่นมั่งดีกว่า ลอง Linux Mint แล้วก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่
ลอง search หา Distro ที่เค้าว่ากันว่า responsive ดู มีคนแนะนำอยู่สองตัวคือ Puppy Linux กับ Arch Linux
ลอง Puppy Linux แล้วดูท่าไม่ไหว เลยมาลงเอย ที่ Arch Linux แล้วก็พบว่า ชอบ Arch Linux อยู่หลายอย่าง
- The Arch Way
- ที่ชอบที่สุดน่าจะเป็น เรื่องลง package เท่าที่จำเป็น คล้ายๆ Gentoo แต่ก็ไม่ได้ manual มากขนาดต้อง build จาก source เองหมด เริ่มจากลงแค่ base แล้วก็อยากใช้อะไรก็ลงเพิ่มเอาเอง (ตอนลงแค่ base นี่ boot เร็วได้ใจมาก) เหมือนได้ปรุงอาหารเอง แทนที่จะกินอย่างที่เค้าจัดมาให้
- Structure หลายๆอย่าง คล้ายๆ FreeBSD ที่ผมคุ้นเคยอยู่ก่อนแล้ว
- Rolling release คือ มีอัพเดทเล็กๆเรื่อยๆ ไม่ได้รวมเป็นอัพเดทใหญ่ๆทีเดียวเป็นรอบแบบ Ubuntu
อีกเรื่องคือ Desktop Environment ที่สุดท้ายก็เลือก Gnome อยู่ดีแล้วก็ค้นพบว่า Gnome Shell คล้ายๆ Unity แต่ responsive กว่าพอสมควรเลย และตอนลงเสร็จก็เป็น Gnome แบบ minimum มาก ไม่มีโปรแกรมอะไรเลย แม้แต่ เครื่องคิดเลข
สิ่งที่ได้จากการลง Arch ครั้งนี้คือ
- ได้ลง Linux แบบ minimum แล้วนั่ง config นุ่นนี่ขึ้นมาเอง (ปกติลงแต่แบบ สำเร็จรูป) กินเวลาเยอะทีเดียว เยอะกว่าที่ตั้งใจไว้ แต่ก็เป็นการเรียนรู้ระบบไปในตัว
- แยก /home ออกไปเป็น partition แยก แล้ว mount เอาแทน ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว ต่อไป เปลี่ยน OS ก็ไม่ต้อง backup home กันอีกแล้ว
- ได้ลองทำ dedicated GRUB2 boot partition คือ สร้าง partition เล็กๆ ที่มี grub อยู่เท่านั้น ทำให้ ไม่ต้องลง grub ใหม่ เวลาลง OS แถม ยัง config ให้ boot จาก iso แบบ ไม่ต้องพึ่ง external harddisk/usb ได้เลยด้วย พึ่งคิดได้
พอลงเสร็จปั๊ป 2-3 วันผ่านไป Ubuntu Phone ก็เปิดตัวทันที แหมะ พึ่งได้มีโอกาสนั่งอ่านนั่งดู
แต่ความเห็นส่วนตัวคือ
- ไม่รู้สึกใหม่เท่าไหร่กับไอเดีย One Device to Rule Them All เพราะรู้สึกไปแล้วตอนที่เปิดตัว Ubuntu for Android (ถ้าใครยังจำได้ :P ) และคิดว่าด้วยศักยภาพของ Canonical แล้วควรจะล้ำเข้ามาในโลก mobile แค่นั้นก่อนมากกว่า ทำให้มันดี แทนที่จะหันไปทำ Ubuntu Phone เองทั้งหมด เพราะแค่นั้นก็น่าสนใจมากพอแล้วครับ
- เดาว่ามันจะออกมาหน่วงๆ เหมือน Unity แหงๆ
- ผมเชียร์แนวทางที่พัฒนา app ด้วย HTML5 มากกว่า native นะ แล้วเขียนด้วย native เฉพาะส่วนที่จำเป็น เหมือนแนวทางที่ ChromeOS พยายามผลักอยู่ และคิดว่าในอนาคตมันควรจะไปทางนี้ด้วย
- แนวคิด ระบบปฏิบัติการเดียวใช้ได้กับทุกอย่าง มองในมุมนึงมันก็เป็น Linux กันเกือบหมดนะครับ ฮ่าฮ่า แต่ถ้ามองในมุมที่คุณ Mark พยายามนำเสนอ ผมคิดว่าไม่ต้องตัวเดียวกันหมดก็ได้ แต่ขอให้ App สามารถเขียนทีเดียว รันได้หลาย platform เหมือน Web App และ integrate กันได้ดีๆ ผมว่าก็เพียงพอแล้วนะครับ
January 5, 2013
Property Rights
2-3 วันก่อน ผมพึ่งซื้อหนังสือ มนุษย์เศรษฐกิจ 3.0 ของคุณ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ มาอ่าน ผมเป็นแฟนหนังสือของเค้าและตามอ่านมาหลายเล่มแล้ว รวมทั้ง blog เค้าด้วย
ยังอ่านไม่จบเล่ม แต่มีบทนึง ที่มีแนวคิดแปลกดี น่าสนใจ และผมไม่เคยคิดถึงมาก่อนเลย ชื่อตามหัวข้อครับ Property Rights
ขออนุญาตคัดมาบางย่อหน้าครับ
------------------------------
ถ้าถามคุณว่า อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้ ละอง ละมั่ง สมัน เนื้อทราย กูปรี สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ บางคนอาจตอบว่า เป็นเพราะกฏหมายคุ้มครองสัตว์ป่าไม่เข้มงวดพอ หรือบางคนอาจตอบว่า เป็นเพราะเราขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่ถ้าจะให้ตอบคำถามนี้แบบนักเศรษฐศาสตร์ สาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ป่าเหล่านี้สูญพันธุ์เป็นเพราะ กฏหมายห้ามมิให้เอกชนครอบครองสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เมื่อเราห้ามมิให้เอกชนเป็นเจ้าของสัตว์ป่า พวกมันจึงเป็นสมบัติสาธารณะ ถ้าเราจะห้ามมิให้ใครฆ่ามันเพื่อเอาประโยชน์ เราจะต้องใช้กำลังพลจำนวนมหาศาลคอยอารักขาพวกมันตลอดเวลาซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเรายอมให้เอกชนเป็นเจ้าของพวกมันและหาประโยชน์จากพวกมันได้ จะมีบริษัทเอกชนจำนวนมากเปิดฟาร์มเพื่อหาวิธีขยายพันธุ์พวกมัน แล้วขายเนื้อของพวกมันเพื่อเอากำไร พวกมันจึงไม่สูญพันธุ์ แต่จะมีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดว่าสัตว์อย่าง เป็ด ไก่ หมู วัว เป็นสัตว์ที่ไม่มีวันสูญพันธุ์ได้ เพราะกฏหมายอนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของพวกมันได้
------------------------------
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบทุนนิยม อิงอยู่บนฐานคิดที่ว่า คนเรามักจะหวงของๆเรา มากกว่าของๆคนอื่นหรือส่วนรวม ตัวอย่างง่ายๆจากในหนังสือคือ คุณมักจะประหยัดน้ำ ประหยัดไฟที่บ้าน มากกว่า น้ำไฟที่ทำงาน หรืออีกตัวอย่างคือการแก้ปัญหาช้างป่าลดลงในแอฟริกา
ผมลองคิดตามก็คิดว่า มันเป็นทางแก้ปัญหาที่น่าสนใจทีเดียว
วันก่อนช่วงหยุดปีใหม่ มีละครเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า ในบทละครพยายามจะสอนว่า ทุกคนต้องหวงแหนป่าของชาตินะ และปกป้องไม่ให้ใครมาลุกล้ำป่า วิธีนี้ก็เป็นทางนึงในการปกป้องป่า และก็ใช้แนวคิดคล้ายๆกันที่จะสร้างความเป็นเจ้าของป่าให้กับทุกคน
แต่ถ้าสมมุติว่า เราไปใช้วิธีให้ปัจเจก/เอกชน เป็นเจ้าของป่า มาหาประโยชน์จากป่า มันอาจจะกลายเป็นว่าเอกชน ก็ตัดต้นไม้ไปหาประโยชน์ก็จริง แต่เอกชนเองก็จะพยายามปลูกป่าทดแทนพร้อมๆกับหาทางปลูกให้มากกว่าเดิมด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของตัวเองไปด้วย
แน่นอน ในกรณีป่า นี้มันยังมีเรื่องสัตว์ที่อาศัยอยุ่ มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นอีก มันคงซับซ้อนกว่านี้มาก
ในท้ายๆบทนี้ ยังพูดถึงเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กับ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ไปหาหนังสือมาอ่านกันเองละกันนะครับ :)
ยังอ่านไม่จบเล่ม แต่มีบทนึง ที่มีแนวคิดแปลกดี น่าสนใจ และผมไม่เคยคิดถึงมาก่อนเลย ชื่อตามหัวข้อครับ Property Rights
ขออนุญาตคัดมาบางย่อหน้าครับ
------------------------------
ถ้าถามคุณว่า อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้ ละอง ละมั่ง สมัน เนื้อทราย กูปรี สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ บางคนอาจตอบว่า เป็นเพราะกฏหมายคุ้มครองสัตว์ป่าไม่เข้มงวดพอ หรือบางคนอาจตอบว่า เป็นเพราะเราขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์ป่า แต่ถ้าจะให้ตอบคำถามนี้แบบนักเศรษฐศาสตร์ สาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ป่าเหล่านี้สูญพันธุ์เป็นเพราะ กฏหมายห้ามมิให้เอกชนครอบครองสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เมื่อเราห้ามมิให้เอกชนเป็นเจ้าของสัตว์ป่า พวกมันจึงเป็นสมบัติสาธารณะ ถ้าเราจะห้ามมิให้ใครฆ่ามันเพื่อเอาประโยชน์ เราจะต้องใช้กำลังพลจำนวนมหาศาลคอยอารักขาพวกมันตลอดเวลาซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเรายอมให้เอกชนเป็นเจ้าของพวกมันและหาประโยชน์จากพวกมันได้ จะมีบริษัทเอกชนจำนวนมากเปิดฟาร์มเพื่อหาวิธีขยายพันธุ์พวกมัน แล้วขายเนื้อของพวกมันเพื่อเอากำไร พวกมันจึงไม่สูญพันธุ์ แต่จะมีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดว่าสัตว์อย่าง เป็ด ไก่ หมู วัว เป็นสัตว์ที่ไม่มีวันสูญพันธุ์ได้ เพราะกฏหมายอนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของพวกมันได้
------------------------------
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบทุนนิยม อิงอยู่บนฐานคิดที่ว่า คนเรามักจะหวงของๆเรา มากกว่าของๆคนอื่นหรือส่วนรวม ตัวอย่างง่ายๆจากในหนังสือคือ คุณมักจะประหยัดน้ำ ประหยัดไฟที่บ้าน มากกว่า น้ำไฟที่ทำงาน หรืออีกตัวอย่างคือการแก้ปัญหาช้างป่าลดลงในแอฟริกา
ผมลองคิดตามก็คิดว่า มันเป็นทางแก้ปัญหาที่น่าสนใจทีเดียว
วันก่อนช่วงหยุดปีใหม่ มีละครเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า ในบทละครพยายามจะสอนว่า ทุกคนต้องหวงแหนป่าของชาตินะ และปกป้องไม่ให้ใครมาลุกล้ำป่า วิธีนี้ก็เป็นทางนึงในการปกป้องป่า และก็ใช้แนวคิดคล้ายๆกันที่จะสร้างความเป็นเจ้าของป่าให้กับทุกคน
แต่ถ้าสมมุติว่า เราไปใช้วิธีให้ปัจเจก/เอกชน เป็นเจ้าของป่า มาหาประโยชน์จากป่า มันอาจจะกลายเป็นว่าเอกชน ก็ตัดต้นไม้ไปหาประโยชน์ก็จริง แต่เอกชนเองก็จะพยายามปลูกป่าทดแทนพร้อมๆกับหาทางปลูกให้มากกว่าเดิมด้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของตัวเองไปด้วย
แน่นอน ในกรณีป่า นี้มันยังมีเรื่องสัตว์ที่อาศัยอยุ่ มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นอีก มันคงซับซ้อนกว่านี้มาก
ในท้ายๆบทนี้ ยังพูดถึงเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กับ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ไปหาหนังสือมาอ่านกันเองละกันนะครับ :)
Subscribe to:
Posts (Atom)